Archive

Posts Tagged ‘e-book’

ในที่สุดก็ได้รีวิว Kindle 3 กะเขาซะที

เมื่อปีที่แล้ว Amazon ได้เปิดตัว Kindle 3 ออกมาช็อกวงการ e-book อีกครั้ง ด้วยสนนราคาที่เอามาฟัดกับ iPad โดยเฉพาะเลยก็คือ $139 (รุ่น WiFi-only) กับ $189 (รุ่น 3G) สรุปก็คือราคา 4-5 พันกว่าบาทเองนะเนี่ย เรียกได้ว่าเป็นราคาที่ใครๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของได้ไม่ยากเลย

มีคนถามผมมาเยอะเหมือนกันว่า ระหว่างซื้อ iPad กับซื้อ Kindle มาอ่าน e-book แบบไหนจะดีกว่ากัน … ด้วยความกรุณาของเพื่อนผู้แสนดี คุณดา (@piscess02) ผมก็เลยได้เจ้า Kindle 3 มาลองนี่แหละครับ

Kindle 3 WiFi-only

อ่านเพิ่มเติม…

หมวดหมู่:รีวิว Gadget, เก็บมาฝาก ป้ายกำกับ:, , ,

5 เทรนด์ของอีบุ๊กที่จะเปลี่ยนอนาคตของผู้ประกอบการสื่อพิมพ์

ธันวาคม 28, 2010 1 ความเห็น

ออกตัวล้อฟรีก่อนเลยนะครับว่า บล็อกตอนนี้อ้างอิงมาจากบทความ 5 E-Book Trends That Will Change the Future of Publishing ของ Mashable ครับ เอาเรื่องนี้เก็บมาฝากกัน เพราะเห็นว่าแวดวงการสิ่งพิมพ์ของไทยเราช่วงปลายปีนี้ก็เริ่มหันมาสู่โลกดิจิตอลกันมากขึ้น อันนี้ต้องบอกเลยว่าเป็นอานิสงฆ์จากการเปิดตัว Tablet หลากหลายยี่ห้อตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา และ iPad ที่เพิ่มเปิดตัวกันไปเมื่อไม่นานมานี้

eBooks

และไหนๆ ก็จะสิ้นปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว การหยิกยกเรื่องของเทรนด์ปีหน้ามาพูดถึง ก็น่าจะเข้ากับบรรยากาศไม่หยอกจริงไหมครับ

อ่านเพิ่มเติม…

ได้สัมผัสกับ Kindle แล้ว… แต่ไม่ใช่แนวว่ะ

หลังจากครุ่นคิดอยู่นาน ในที่สุดวันนี้ก็ตัด(สิน)ใจที่จะไปซื้อ Kindle2 มาใช้ครับ เป้าหมายคือ จะเอามาใช้ใส่ไฟล์หนังสือและงานวิจัยที่เป็น pdf ไปไว้อ่านเวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงาน… ไอ้ครั้นจะสั่งจาก Amazon.com เลย ก็เกรงว่าจะต้องมาเก๊กซิมกับการแถกันหน้าด้านๆ ของกรมศุลกากร ที่คราวก่อนผมสั่งซื้อกระปุกออมสินรูปแมวเหมียวจากญี่ปุ่นราคา 1,950 เยน มีการ Declare มาดิบดีว่าเป็น Toy แต่พอมาถึงเมืองไทย ผ่านกรมศุลกากร ปาฏิหารย์มีจริงครับ ของเล่น กลายเป็นโทรศัพท์มือถือไปได้ แถมมีมูลค่าถึง 4,000 บาททีเดียว… สรุป ภาษีนำเข้าของผม แพงกว่าค่ากระปุกที่ผมสั่ง (ฮือๆ เข็ดจนตาย จะไม่สั่งของเข้ามาเมืองไทยอีกแล้ว จะให้เพื่อนหิ้วมาให้สถานเดียว)

ชักนอกเรื่อง กลับเข้ามาเรื่อง Kindle กันต่อ… ณ ตอนนี้ในเมืองไทย มีที่เดียวที่นำเข้า Kindle มาขายครับ คือที่ http://www.kindlethai.com ไม่รอช้า รีบติดต่อไปทันที และรู้มาว่า ออฟฟิศอยู่แถวชิดลม โอ้! ใกล้ที่ทำงาน รีบไปดูของด่วน!!!

เดินจากสถานีรถไฟฟ้า BTS ชิดลม กว่าจะไปถึงออฟฟิศ เหงื่อก็โทรมกายพอใช้ได้… การต้อนรับขับสู้จากทาง KindleThai นั้นดีมากทีเดียว เอาเครื่อง Demo มาให้ผมได้ทดลองเล่น ผมก็ลองหลายๆ อย่าง รวมทั้งการดาวน์โหลดไฟล์งานวิจัยที่ผมต้องการจะยัดเข้าไปไว้อ่าน ใน Kindle มาลองใส่ดูด้วย…

ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ก่อนว่า Kindle นั้นคือเครื่องอ่าน e-book ครับ… แต่คำว่า e-book ในความหมายของผม ณ ตอนนี้ มีหลากหลายรูปแบบมากทีเดียว (หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Comparison_of_e-book_formats)

การทดลองของผมคือ ลองดูไฟล์งานวิจัยด้วยสองรูปแบบคือ .pdf กับ .mobi ผลคือ

  • หากเป็นไฟล์ .pdf
    • ตัว Kindle จะพยายามแสดงผลเอกสารทั้งหน้าให้พอดีกับหน้าจอเต็มๆ ทำให้ตัวอักษรเล็กโคตรๆ จนแทบจะอ่านไม่ได้… สุดท้ายต้องปรับโปรแกรมไปอ่านแบบตะแคงแนวนอนแทน ทำให้ตัวอักษรใหญ่ขึ้น แต่หน้านึงเลยกลายเป็นหลายหน้าแทน
    • เอกสารหนึ่งหน้าเลยกลายเป็นหลายหน้าแทน (ประมาณ 3 หน้า) แถมมีปัญหาอีกว่า หากเอกสารเป็นแบบ Multi-column (คือ เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ขึ้นไป เหมือนในหน้าข่าวหนังสือพิมพ์อ่ะ) ก็จะทำให้ลำบากเวลาอ่าน เพราะต้องอ่านคอลัมน์ซ้ายก่อน แล้วเปลี่ยนหน้าไปเรื่อยๆ จนอ่านจบ จากนั้นต้องย้อนกลับไปหน้าแรกๆ ใหม่เพื่อเริ่มอ่านคอลัมน์ขวาต่อ
  • หากเป็นไฟล์ .mobi – อันนี้เราสามารถเอาไฟล์ .pdf มาแปลงเป็น .mobi หรือไฟล์รูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะกับ e-book reader ได้ โดยการใช้โปรแกรมชื่อ Calibre (รองรับทั้ง Windows และ Mac OS)
    • พอใช้โปรแกรมแปลงแล้ว หากเป็นภาษาอังกฤษ การจัดหน้า หรือตัวอักษร จะออกมาดูดีมีฐานะมาก แต่…
    • หากเอกสารเป็นแบบที่มีการจัดอาร์ตเวิร์คสวยๆ แบบนิตยสาร หรือเป็นแบบ Multi-column แล้วละก็ โปรแกรมจะเชื่อมต่อย่อหน้าผิดหมดเลยครับ ทำให้อ่านไม่รู้เรื่องเลย

ผมจึงสรุปได้ว่า Kindle แม้จะเจ๋งจริง แต่ก็จะเหมาะกับการใช้อ่าน e-book แบบที่เป็น Kindle Edition ที่ซื้อและดาวน์โหลดจาก Amazon.com มากกว่า หรือไม่ก็ต้องเป็นไฟล์ .pdf, .txt ที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบ Multi-column หรือเป็นแบบที่สแกนมาเป็นรูป และถ้าจะให้ดี ควรมีการแปลงไฟล์พวกนั้นให้อยู่ในรูปของไฟล์ .mobi หรือ .azw ที่สามารถใช้คุณสมบัติของ e-book reader อย่างการเปลี่ยนขนาดตัวอักษรได้จะดีกว่า ทั้งนี้เพราะ Kindle นั้นไม่มีคุณสมบัติในการซูมเอกสารนะครับ

จบวันด้วยการที่ผมเสียค่ารถ BTS 20 บาท บวกกับเดินเหงื่อโทรมกายเพื่อไปทดลองเล่น Kindle2 และประหยัดเงินไปได้หมื่นกว่าบาท เพราะไม่ต้องซื้อมัน… เหอะ เหอะ

หมวดหมู่:บ่นไปเรื่อย ป้ายกำกับ:, , ,

Amazon vs Macmillan สงครามนี้เพื่อใคร?

กุมภาพันธ์ 1, 2010 1 ความเห็น

เมื่อเร็วๆ นี้เกิดการปะทะกันระหว่างยักษ์ใหญ่แห่งวงการหนังสืออเมริกา ฝ่ายหนึ่งคือสำนักพิมพ์ Macmillan ซึ่งเป็น 1 ใน 6 สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ส่วนอีกฝ่ายคือ Amazon.com ซึ่งก็เป็นร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด (อาจจะไม่ใช่แค่ในอเมริกา แต่อาจจะเป็นในโลกเลยก็ได้)

เรื่องนี้เป็นข่าวเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ Apple ประกาศเปิดตัว iPad ได้ไม่กี่วัน ก็ปรากฎว่า สำนักพิมพ์ Macmillan ซึ่งเพิ่งจะเจรจาเป็นพันธมิตรกับ Apple ในการจำหน่าย e-book บน iPad ผ่านทาง iBook ก็ขอเจรจากับ Amazon.com เพื่อขอให้ขึ้นราคาขาย e-book ของสำนักพิมพ์ของตน ที่จะลง Kindle จากเดิมที่อั้นไว้ที่ $9.99 ไปเป็นระหว่าง $12.99 – $14.99 แทน ซึ่งจริงๆ ปัญหาในประเด็นดังกล่าวก็มีเกิดขึ้นมานานแล้ว ทั้งนี้เนื่องจาก Amazon.com นั้นทำสัญญาแบ่งรายได้จากการขาย e-book เป็นอัตราส่วน 70-30 กล่าวคือ Amazon.com จะได้ส่วนแบ่ง 70% จากราคาขาย ในขณะที่สำนักพิมพ์ก็จะได้ 30% ปัญหาก็คือ ตัว Amazon.com เป็นผู้กำหนดราคาขาย ซึ่งมักจะอยู่ที่ $9.99 หรือบ่อยครั้งคือ ต่ำกว่าราคาดังกล่าว ส่งผลให้ส่วนแบ่งที่จะไปถึงตัวสำนักพิมพ์น้อยมาก (ตรงนี้ต้องไม่ลืมนะครับว่า รายได้ที่ถึงมือสำนักพิมพ์นั้น ยังต้องนำไปแบ่งกับนักเขียนอีกต่อหนึ่ง ในขณะที่ Amazon.com รับไปเนื้อๆ) ซึ่งจากความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้สำนักพิมพ์จงใจที่จะออกหนังสอเวอร์ชันบน Kindle ช้ากว่าเวอร์ชันรูปเล่มที่เป็นกระดาษหลายเดือนทีเดียว

ดูเหมือนว่า iPad ของ Apple จะมาทำให้ถึงจุดแตกหัก อาจเป็นไปได้เพราะ Apple นั้นยอมให้สำนักพิมพ์ตั้งราคาขายได้สูงกว่า $9.99 เมื่อเจอข้อเปรียบเทียบแบบนี้ ก็ไม่แปลกที่สำนักพิมพ์จะต้องออกโรงเจรจากับทาง Amazon.com ทว่าผลที่ได้คือ เมื่อสองวันก่อนนั้น Amazon.com สวนกลับด้วยการถอดรายการหนังสือของสำนักพิมพ์ Macmillan ออกจากรายการขายใน Amazon.com ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น e-book หรือหนังสือรูปเล่ม หากใครต้องการจะหาหนังสือของ Macmillan ก็ต้องไปหาในมุมหนังสือมือสอง หรือที่ขายผ่านทาง Third party เท่านั้น

จนถึงเมื่อวานนี้แหละครับที่ Amazon.com ก็ยอมอ่อนข้อให้ อันนี้อาจเป็นไปได้เพราะว่า Macmillan เป็นสำนักพิมพ์ขาใหญ่ หากไม่ยอมเอามาพิมพ์ Amazon.com จะซวยมากกว่า เพราะตัวเลือกในการขายจะหายไปเยอะ แต่ก็ไม่วายที่ Amazon.com จะมาออกแถลงการณ์ในกรณีนี้ ใจความพอสรุปได้ว่า “Macmillan นั้นพยายามที่จะเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจโดยไม่แยแสต่อมุมมองของ Amazon.com และจะขาย e-book ในราคาแพง ซึ่งทาง Amazon.com นั้นก็ได้แสดงให้เห็นถึงจุดยืนแล้ว โดยการถอดหนังสือของ Macmillan ออกเป็นการชั่วคราว แต่สุดท้ายก็ไม่อาจทำได้โดยตลอด เพราะธุรกิจหนังสือเป็นแบบ Monopoly1 จึงทำให้ Amazon.com ต้องยอมทำตามข้อเสนอของ Macmillan ในที่สุด แต่สุดท้ายก็ได้แต่หวังว่าผู้อ่านจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าคุ้มแล้วหรือไม่ที่จะต้องจ่ายแพงถึง $14.99 โดยไม่จำเป็น”

แน่ะ! มีการทิ้งท้ายออดอ้อนขอความเห็นใจจากผู้อ่านให้คล้อยตาม

งานนี้ต้องบอกว่าได้ใจผู้อ่านไปไม่น้อยทีเดียว เพราะใครๆ ก็ชอบของถูกด้วยกันทั้งนั้นล่ะครับ จริงไหม โดยส่วนตัวผมเองยังคิดเลยด้วยซ้ำว่า e-book ราคาตั้ง $9.99 นี่ยังถือว่าแพงเลย เพราะสำนักพิมพ์กับคนขายไม่ต้องมีต้นทุนในการพิมพ์แม้แต่น้อย มีไฟล์เดียวก็ให้ดาวน์โหลดได้แบบไม่จำกัดแล้ว… แต่ในความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่ว่าการขาย e-book จะไม่มีต้นทุนเลยซะที่ไหนกันล่ะ ไหนจะต้องมีค่าเซิร์ฟเวอร์ ไหนจะต้องมีค่าพื้นที่เก็บข้อมูล ไหนจะต้องมีค่าบำรุงรักษา ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ฯลฯ ดังนั้นจึงทำให้ราคาของ e-book ไม่ต่างจากหนังสือปรกติเท่าใดนัก การเลือกซื้อหา e-book มา จึงอาจอยู่ที่เพราะ เราไม่ต้องการเปลืองที่จัดเก็บ และการจัดเก็บ e-book ก็สามารถทำได้ง่ายกว่า การพกพาไปไหนต่อไหนก็สะดวกกว่านั่นเอง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมก็อยากให้เรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง ในลักษณะของการเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย เพราะสำนักพิมพ์ก็ใช่ว่าจะไม่มีต้นทุนเลยซะเมื่อไหร่ ที่แน่ๆ คือ เขาก็จะต้องมีต้นทุนในการจัดแปลงหนังสือให้อยู่ในรูปของไฟล์ดิจิตอล และค่าใช้จ่าย overhead กับ fixed cost ต่างๆ ของเขา ซึ่งจะต้องผนวกเข้าไปในหนังสือแต่ละเล่มอยู่แล้ว และที่สำคัญก็จะต้องมีค่าผลตอบแทนในการเขียนให้แก่นักเขียนอีกด้วย ดังนั้น เมื่อ Amazon.com จัดส่วนแบ่งเค้กมาให้น้อยนิด แถมยังกดราคาขายลงไปอีก (โดยเฉพาะเมื่อมีโปรโมชั่นลดราคาอีก 10-20%) ก็ยิ่งทำให้รายได้ของสำนักพิมพ์ที่จะต้องไปแบ่งกับนักเขียนลดลง ในบล็อก Amazon, Macmill, and Future of Publishing เขียนโดย Sabrina Sumsion ได้ยกตัวอย่างการแบ่งรายได้ระหว่าง Amazon – สำนักพิมพ์ – นักเขียน เอาไว้ค่อนข้างชัดเจน

แน่นอนครับ สำนักพิมพ์และผู้เขียน ก็ต้องปกป้องผลประโยชน์ของตนเองก่อน แต่ก็เป็นคำตอบที่ยอมรับได้ เพราะการจะเขียนหนังสือให้ได้ซักเล่มนั้น ไม่ใช่เขียนกันแป๊บๆ นะครับ ไหนจะต้องหาข้อมูล ไหนจะต้องศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ ขนาดงานแปลหนังสือ บางเล่มยังใช้เวลาหลายเดือนเลย ซึ่งนั่นหมายความว่า ต้นทุนของการผลิตหนังสือต่อเล่มจึงค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือตำราวิชาการ (เพราะผู้แต่งจะค่าตัวค่อนข้างสูงอยู่แล้ว) และ หนังสือนิยามประเภทขายดี (Bestsellers)

แต่ผมก็อยากให้ผู้บริโภคอย่างเราถามก่อนว่า การที่ Amazon.com ทำเช่นนี้ ก็เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคหรือไม่ เพราะหากดูในแง่ของโมเดลธุรกิจแล้ว น่ากลัวครับ ในมุมมองของผู้บริโภค Amazon.com แทบจะเรียกว่าเป็นผู้ขายหนึ่งในไม่กี่รายที่ขายหนังสือไปแบบทั่วโลก (พูดง่ายๆ คืออยากได้หนังสือชาติไหน หาผ่าน Amazon.com ได้) ดังนั้น ในมุมมองนี้ Amazon.com ก็จะเป็นผู้ขายที่มีอยู่น้อยนิดท่ามกลางผู้ซื้อมากมาย นั่นคือ Supply น้อยกว่า Demand ในขณะเดียวกัน หากดูจากมุมมองสำนักพิมพ์แล้ว Amazon.com ก็จะเป็นผู้ซื้นหนึ่งในไม่กี่ราย ที่จะรับซื้อหนังสือเป็นล็อตใหญ่ๆ ได้ ซึ่งในมุมมองนี้ Demand จะน้อยกว่า Supply

ดังนั้น ทั้งขึ้นทั้งล่องครับ Amazon ก็จะกลายเป็นผู้มีอำนาจในตลาดขายหนังสือและ e-book อยู่ดี แม้ในขณะนี้มันจะมีผลดีต่อผู้บริโภค (เพราะเราได้ซื้อ e-book ในราคาถูก) แต่ในอนาคตหาก Amazon.com มีอำนาจต่อรองมากกว่านี้มากๆ ก็ไม่รู้เหมือนกันครับ ว่าจะมีอะไรมารับประกันเราได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับโมเดลทางธุรกิจ และราคาของ e-book

ยังไซะ ตลาดที่แข่งขันกันเสรี ก็ย่อมให้ประโยชน์กับผู้บริโภคมากกว่าล่ะครับ

หมายเหตุ
1. ที่ว่าธุรกิจหนังสือเป็นแบบ Monopoly ก็เพราะว่า สำนักพิมพ์จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพียงหนึ่งเดียวของหนังสือนั่นเอง ดังนั้น Amazon.com จึงไม่สามารถไปหาหนังสือของสำนักพิมพ์ Macmillan จากที่อื่นได้