หน้าแรก > คอมพิวเตอร์, เก็บมาฝาก, เขียนตามกระแส, Social Networking > วิชา Google+ 101 : เกร็ดเล็กๆ ที่ผู้ใช้ Google+ ควรทราบ (คาบที่ 1)

วิชา Google+ 101 : เกร็ดเล็กๆ ที่ผู้ใช้ Google+ ควรทราบ (คาบที่ 1)

image

เอาละ กระแส Google+ ก็เป็นที่รู้ๆ กันดีอยู่แล้วว่ามันมาแรงแซงทางโค้งอ่ะนะครับ แต่ก็เชื่อว่าหลายๆ คนก็อาจจะยังคงงงๆ กันอยู่ในหลายๆ เรื่อง และนั่นก็คือที่มาของบล็อกของผมในตอนนี้ครับ

ในวิชา Google+ 101 นี้ ผมจะนำท่านผู้อ่านที่เป็นผู้ใช้งาน Google+ มือใหม่ รวมถึงผู้ที่กำลังคิดว่าจะได้มี Google+ มาใช้กับเขาซะได้ ได้ทำความรู้จักและเตรียมตัวให้พร้อมก่อนใช้งานครับ

ผมเคยเขียนถึง Google+ ไปแล้ว แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ในส่วนของการรีวิวฟีเจอร์ต่างๆ แต่ไม่ได้ลงไปลึกถึงการใช้งานจริงจังครับ ดังนั้นในบล็อกตอนนี้ เรามาดูกันดีกว่าว่า หัดเล่น Google+ แบบพื้นฐานแล้ว เราควรจะรู้อะไรกันบ้าง

เรื่องราวอันมีสาระที่นำมาเสนอนี้สนับสนุนโดย

  • Dell Thailand : รัก Dell ชอบ Dell อย่าลืมกด Like Facebook Fan Page ของ Dell นะครับ ทุกคำถามคาใจเกี่ยวกับ Dell ที่ Fan Page มีคำตอบ … หากหาคำตอบไม่ได้ ก็ถามใหม่ซะเลย Smile
  • วันเสาร์ที่ 23 ก.ค. นี้ พบกับผมในฐานะพิธีกรของงานสัมมนา HR says Hire! IT Guy says Yes! มารู้วิธีเขียน Resumé มารู้จักกับ LinkedIn กัน สำรองที่นั่งและรายละอียดได้ตามลิงก์นี้เลย http://t.co/fCUuVt1
  • i-mobile 3GX สปีดล้ำแบบ 3G ตัวจริง กับ 3 เหตุผลที่คุณควรเลือกใช้ 1) ความเร็วสูงสุด 7.2Mbps 2) เป็นผู้ให้บริการที่มียอดผู้ใช้บริการสูงสุดในกลุ่ม MVNOs ของ TOT3G และ 3) บริการหลากหลาย ทั้งซิมเติมเงิน และซิมรายเดือน พร้อมแพ็กเกจมากมาย สนใจรายละเอียด คลิกเลย

และที่สำคัญ วันนี้จนถึง 1 สิงหาคม 2554 นี้ อยากให้มาร่วมสนุกกับกิจกรรม “ค้นหาแฟนพันธุ์แท้บล็อกนายกาฝาก” ชิงรางวัลกันด้วยครับ อ่านรายละเอียดได้ที่นี่เลย

เอาละครับ มาเข้าเรื่องราวของเรากันต่อได้เลย

 

เข้าใจถึงพื้นฐานของ Circle กันก่อน

โดยพื้นฐานของ Google+ แล้ว มันคล้ายๆ กับ Twitter มากกว่า Facebook นะครับ แม้ว่าหน้าตามันจะเหมือนกับ Facebook อยู่หลายส่วนจนทำให้ผมต้องเขียนบล็อกขึ้นมาเปรียบเทียบน่ะ ฮาฮา

image

ก่อนอื่นเลยต้องรู้จักคำว่า Circle กันก่อนครับ ถ้าให้อธิบายในภาษาสำหรับคนที่ใช้ Twitter แล้ว การเพิ่มใครก็ตามเข้าสู่ Circle ของเรา ก็คือการ Follow เขานั่นเอง

เพียงแต่ว่า มันจะกึ่งๆ การ Follow เขาไปพร้อมๆ กับการจัดเขาเข้าไปใน List ในคราวเดียวกัน เช่นในกรณีของเพื่อนผมคนนี้ (ผู้ก่อตั้ง Facebookgoo.com และหนึ่งในผู้แต่งหนังสือ Marketing on Facebook ที่ขายดี) นี่ ผมก็เพิ่มเข้าเข้าไปใน Circle ชื่อ Digital Marketing ครับ นั่นก็เท่ากับว่า ผมได้ Follow เขาแล้ว และจัดให้เขาอยู่ใน List ที่ชื่อว่า Digital Marketing นั่นเอง

imageโอเค … สำหรับคนที่ไม่รู้จัก Twitter … การ Follow เขา หรือในกรณีของ Google+ คือการเพิ่มเขาเข้ามาใน Circle แล้วเราจะได้อะไร?

ถ้าเราเพิ่มใครเข้ามาใน Circle ของเราแล้ว เท่ากับว่าเราแสดงเจตนาแล้วว่า เราอยากติดตามความเป็นไปใดๆ ก็ตามที่คนคนนั้นเขาอัพเดต ซึ่งการอัพเดตของเขาจะต้องถูกตั้งเป็น Public (เปิดให้ใครก็มาดูได้) หรือหากเขาเลือกโพสต์แบบให้เฉพาะบางคน หรือบาง Circle เห็นนั้น ก็จะต้องมีชื่อเราอยู่ในรายชื่อคน หรือ Circle ที่เขาจะให้เห็น

เมื่อเอาโพสต์ข้อความ Google+ ของเรามารวมๆ กับทุกๆ โพสต์ที่คนที่เราเพิ่มเข้ามาใน Circle มารวมกันแล้ว มันก็จะกลายเป็นหน้าที่เรีนกว่า Stream ครับ

 

 

 

 

ส่วนต่างๆ ของ Google+ ที่คุณควรรู้

imageจริงๆ แล้ว Google+ มันมีองค์ประกอบเยอะแยะตาแป๊ะไก่ไปหมด แต่นี่มันวิชา Google+ 101 นะ ดังนั้นเราจะพูดถึงเฉพาะพื้นฐานพอ

ไล่กันตามตัวเลขเลยนะครับ ว่าอะไรต่อมิอะไรใน Google+ มันเอาไว้ทำอะไรกันบ้าง

1. ลิงก์ไปยังฟังก์ชั่นต่างๆ ของ Google+ ได้แก่ Stream, Sparks และ Chat

ตรงนี้ถ้าเราคลิกที่รูปเราก็จะเข้าหน้า Profile แต่ถ้าคลิกที่หน้า Welcome ก็จะเข้าไปหน้าต้อนรับ ที่จะมีพวกลิงก์ไปยังวิดีโอ และคำแนะนำในการใช้บริการต่างๆ ของ Google +

image2. ลิงก์หลักของ Google+ ได้แก่ (จากซ้ายไปขวา) Stream, Photos, Profile และ Circle ซึ่ง

  • Stream ก็คือหน้าหลักจริงๆ ของเรา … เทียบได้กับ Timeline ของ Twitter หรือ Wall ของ Facebook อะไรก็ตามที่ตัวเราและคนที่เราเพิ่มเข้ามาใน Circle โพสต์ ก็จะมาโผล่ที่นี่
  • Photos จะแสดงรูปภาพครับ เลือกได้ว่าจะดูรูปที่แต่ละคนใน Circle โพสต์ หรือรูปที่เราโพสต์ โดยจะแสดงด้วยว่าใครโพสต์มา และมีคอมเม้นต์กี่ครั้ง
  • Profile ก็คือหน้าหลักของเราเวลาที่ใครต่อใครเข้ามาดู ตอนนี้ Google ยังไม่ได้ออกแบบมาให้ Google+ สามารถเลือกชื่อย่อเองได้ (เหมือนที่ Facebook ของผมสามารถเข้าได้จาก http://www.facebook.com/kafaakBlog เป็นต้น) ตอนนี้หน้า Profile ของเราจะเป็น URL ยาวๆ แบบนี้ https://plus.google.com/101821743698127171541 ครับ
  • Circle ก็คือหน้าจอที่เราเอาไว้สำหรับสร้างและบริหารจัดการ Circle ของเรานั่นเอง

3. ส่วนของ Stream (ตอนที่อยู่ในหน้า Stream) จะให้เราโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือ Geolocation ได้

image4. แสดงให้ดูแบบคร่าวๆ ว่า ใน Circle ของเรานั้นมีใครบ้าง

5. แสดงรายการแนะนำว่าเราควรเพิ่มใครเข้าไปใน Circle ของเราบ้าง

6. ลิงก์สำหรับการเริ่มใช้ฟังก์ชั่น Hangouts ซึ่งเป็นบริการ Group Video Chat ของ Google+

7. Go Mobile คลิกเพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม Google+ สำหรับมือถือ แต่ว่าตอนนี้ยังรองรับเฉพาะระบบปฏิบัติการ Android นะครับ แล้ว

 

เอ้า! มาตั้งวงกันซะที

image

ง่ายที่สุดเลย ก็คือ ไปเริ่มจาก Suggestions ครับ ระบบจะดูจากหลายๆ ปัจจัยว่าจะแนะนำใครให้เราดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ว่า

  • คนคนนี้มีตัวตนอยู่บน Contact ใน Gmail ของเราไหม
  • คนคนนี้มีคนที่อยู่ใน Circle ของเขาคล้ายกับของเรามากแค่ไหน
  • คนคนนี้มีคนที่อยู่ใน Circle ของเราไปเพิ่มเข้าไว้ใน Circle มากแค่ไหน

ซึ่งหากมีปัจจัยข้างต้นอยู่เยอะ ก็แสดงว่าเราควรจะเพิ่มคนคนนี้เข้ามาใน Circle ของเรา … ที่เหลือก็แค่เลื่อนเคอร์เซอร์ของเมาส์ไปวางเหนือปุ่ม image แล้วก็จะปรากฏรายชื่อของ Circle ที่เราเคยสร้างเอาไว้ขึ้นมาพร้อมจำนวนคนที่อยู่ใน Circle นั้นอยู่ … หรือหากไม่มี Circle ที่เหมาะๆ ก็คลิกที่ Create new เพื่อสร้าง Circle ใหม่ขึ้นมาได้

imageอีกวิธีนึงก็คือ เข้าไปที่หน้า Profile ของคนที่เราต้องการจะตามเลยครับ แล้วเราก็จะเห็นปุ่ม Add to circles สีแดงๆ (ตามลูกศรชี้) ให้คลิกแล้วเพิ่มเข้า Circle ได้เลย

image

อีกจุดนึงที่ให้เราเพิ่มคนเข้าไปใน Circle เราได้ก็คือการเอาเคอร์เซอร์ของเมาส์ไปวางไว้เหนือ Avatar ของคนที่เราสนใจ แล้วมันจะเปิดหน้าจอเล็กๆ ขึ้นมาพร้อมปุ่ม Add to circles ให้เพิ่มคนคนนั้นเข้า Circle ได้ครับ

โดยปกติแล้ว ผมว่าเราจะใช้ 2 วิธีแรกมากกว่าในการเพิ่มคนเข้า Circle แต่วิธีสุดท้ายนั้นมันสำหรับเวลาที่เราไปตาม Profile ของใครเขาซักคน สมมติว่าเป็น นาย A แล้วเกิดสนใจอยากจะเพิ่มคนที่อยู่ใน Circle ของนาย A หรือคนที่มีนาย A อยู่ใน Circle ด้วย ก็สามารถทำได้เลย

นอกจากนี้ หากมีใครเพิ่มเราเข้าไปใน Circle ของเขา หรือมีการโพสต์ข้อความคอมเม้นต์ในโพสต์ของเรา หรือโพสต์เดียวกับที่เราไปคอมเม้นต์ไว้ Google+ ก็จะส่งข้อความเตือน (Notification) มาให้เรา เราก็อาศัยตรงนั้นในการเลือกเพิ่มคนเข้า Circle ได้เช่นกัน … ประมาณเดียวกับการที่เวลามีใครมา Follow เรามาแล้วเราก็ Follow กลับนั่นแหละครับ

imageimage

imageและสุดท้าย ก็คือการไปที่หน้า Circles ครับ หน้านี้คือหน้าสำหรับการบริหารจัดการ Circle โดยเฉพาะ และนี่คือฟังก์ชั่นที่มีคนพูดถึงกันเยอะมาก ในเรื่องของ Interface ที่ดี และลูกเล่นอนิเมชั่นสวยงาม

imageimage

imageในหน้าจอนี้เราจะเห็นรายชื่อของคนที่เรามีใน Circle, คนที่เพิ่มเราไปใน Circle และคนที่ระบบอยากแนะนำให้เพิ่มเข้า Circle … จากนั้นเราก็แค่คลิกๆๆๆ เลือกคนที่เราอยากเพิ่มเข้า Circle แล้วก็ลากมาลง Circle ก็เรียบร้อย แต่ถ้าเกิดไม่มี Circle ไหนที่เหมาะๆ ก็ลากไปที่วงกลมสีขาวที่อยู่ซ้ายมือเพื่อสร้างเป็น Circle ใหม่ซะเลยครับ

imageในกรณีที่เราจะสร้าง Circle ใหม่ที่หน้าจอนี้ หลังจากลากใครต่อใครที่เราอยากได้มาอยู่ใน Circle เรียบร้อยแล้ว ก็จะเห็นว่าวงกลมสีขาวมันจะขึ้นลิงก์คำว่า Create circle ครับ คลิกที่นั่น แล้วก็ไปสร้าง Circle กันได้เลยครับ

image

ที่ต้องทำก็คือ ตั้งชื่อ Circle ขึ้นมา จากนั้นทบทวนอีกทีว่าจะเพิ่มใครเข้าไปอีกไหม สามารถคลิกที่ Add a new person เข้าไปได้ … ตรงนี้จุดเด่นของ Google+ ก็คือ การเพิ่มคนที่ไม่ใช่ผู้ใช้งาน Google+ ให้เข้ามาอยู่ใน Circle ของเราก็ได้ โดยเวลาที่เราอัพเดต Stream แล้วมีการระบุให้ส่งหาคนใน Circle นี้โดยเฉพาะ ก็จะส่งเป็นอีเมล์ไปแทน

imageสังเกตดีๆ ว่าหน้าจอบริหารจัดการ Circle นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน (มี Scrollbar 2 อัน … แต่ละอันจะเห็นเวลาที่เรามีรายชื่อคนที่ให้เพิ่มเข้า Circle เยอะๆ และเรามี Circle เยอะๆ แล้ว) เราสามารถที่จะเอาเคอร์เซอร์ของเมาส์ไปไว้บนเส้นประ แล้วสามารถเลื่อนจัดตำแหน่งเส้นแบ่งระหว่างรายชื่อคน กับ รายชื่อ Circle ที่เรามีได้ เพื่อให้การแสดงผลมันเหมาะสมกับจำนวนรายชื่อเพื่อนและ Circle ครับ

สำหรับวิชา Google+ 101 ในคาบแรกนี้ก็ขอเพียงเท่านี้ไว้ก่อน แล้วเดี๋ยวคาบที่ 2 เรามาต่อกันในเรื่องของการโพสต์ข้อความเพื่ออัพเดต Stream ของเรากันครับ

(ติดตามคาบต่อไป)

ก่อนจากกัน ขอทิ้งท้ายด้วยการพูดถึงผู้มีอุปการคุณกับบล็อกนานาสาระกับนายกาฝากอีกรายครับ…

สำหรับท่านผู้ใช้งาน Smartphone, iPad หรือ Tablet อื่นๆ DTAC ขอเสนอแพ็กเกจหลากความคุ้มค่าในการใช้งานให้เลือกทั้งแบบ Time-based คิดค่าใช้บริการตามเวลา และ Volume-based คิดค่าใช้บริการตามปริมาณข้อมูลที่ใช้จริง เริ่มต้นที่ 149 บาท/เดือน หรือเลือกที่จะหมดกังวลด้วย Unlimited Package ในราคา 790 บาท/เดือน (ราคายังไม่รวม VAT 7%)

สนใจ ติดต่อสมัครได้ที่ 1678 กด…หรือสำนักบริการดีแทค
รายละเอียดที่เว็บ http://www.dtac.co.th/page/?id=252
Facebook: http://www.facebook.com/dtacinternet


หากมีข้อสงสัยประการใด หรืออยากแบ่งปันความเห็นของท่าน ยินดีรับฟังและร่วมออกความเห็นได้ทาง Comment ด้านล่างนี้ หรือจะร่วมแชร์ความเห็นและความรู้ได้อีกหนึ่งช่องทาง เพียงแค่กด Like Facebook Fan Page ของผม ที่ http://www.facebook.com/kafaakBlog ครับ

  1. pommy
    กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 11:51

    ขอบคุณครับท่านอาจารย์ >_<

  2. กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 14:39

    แหร่มเลยจ้า ท่านอาจารย์ อิอิ

  3. Chai
    กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 15:17

    ขอบคุณครับ คุณครู ^_^

  4. Mint
    กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 15:49

    ละเอียดมาก -o-

  5. กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 17:15

    มานั่งเรียนแล้วค่ะ *-*

  6. นายกาฝาก
    กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 17:31

    ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกคนครับ อิอิ

  7. wut
    กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 21:12

    เช็คชื่อ ทันป่าวครับเนี่ย ผม นาย E_ka มารายงานตัวครับผม ( ชอบวิชานี้ มากๆครับ )

  8. กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 21:32

    ขอคุณคร่า

  9. กรกฎาคม 15, 2011 เวลา 21:35

    ขอคุณมากเลยนะคร่า รอติดตามคาบต่อไปนะคร่า

  10. กรกฎาคม 17, 2011 เวลา 14:15

    ผมว่า ส่วนหนึ่ง มันเหมือน Page ของ Facebook อ่ะครับ
    ที่ไม่ต้องกด รับ Add เพื่อน ก็สามารถ ทำธุรกรรม ได้เลย เหมือนกด like บน Fan Page

    • นายกาฝาก
      กรกฎาคม 17, 2011 เวลา 16:09

      ไม่เชิงครับ จริงๆ มันเหมือน Twitter มากกว่า (ออกแนว Following + List ครับ)
      เพราะ Page นั้น คุณไม่สามารถจัดได้ว่าใครที่กด Like มาจะอยู่กลุ่มไหน

      เร็วๆ นี้ เราคงจะได้เห็น Google+ ในแนวของ Page ของ Facebook กัน แต่น่าจะใช้ชื่อว่า Brand Page ครับ

  11. กันยายน 26, 2011 เวลา 03:20

    ตอนที่ผมเริ่มใช้ครั้งแรกก็งงอยู่เหมือนกัน พอค่อยๆศึกษาเรียนรู้ไปเรื่อยๆก็เห็นว่าน่าสนใจ พอมาอ่านคำแนะนำของคุณเพิ่มเติมก็เลย โอเคเลยนะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

  1. กรกฎาคม 16, 2011 เวลา 11:00
  2. กรกฎาคม 17, 2011 เวลา 02:58
  3. พฤศจิกายน 27, 2011 เวลา 11:00

ใส่ความเห็น